ภาคกลาง วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคกลาง ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำนา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพบุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและหมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นนที่เป็นลักษณะเด่น ได้แก่ มังคละรำเต้น นอกจากนี้ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือมี ความสามารถในการปลูกสร้างเรือนไทย ความเป็นช่วงฝีมือที่ประณีตในการตกแต่งวัด และช่าง ประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างแกะสลักลายไทย ลวดลายปูนปั้นประดับพระสถูปเจดีย์ชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นภาคกลาง มีหลายเผ่าพันธุ์ อาทิ ลาวโข่ง กระเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ลาวพวน ในอำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี คนลาว ในเขต จังหวัดเพชรบุุุุุุุุุุุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มอญ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีการตักบาตรดอกไม้
ในวันเข้าพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ชาวบ้านวัดพระ พุทธบาท จังหวัดสระบุรี แถบนั้นมีคติเชื่อว่าการบูชา พระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ธูปเทียน "อามิสบูชา" ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานั้นย่อมได้รับผลอานิสงส์มากมาย ดังนั้นพอถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะเก็บดอกไม้ป่าซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชประเภทที่มีกอหรือเหง้าฝังอยู่ใต้ดินเช่นต้นกระชายหรือต้นขมิ้น พืชได้รับความชุ่มชื่นจากฝนลำต้นก็แตกยอดโผล่ขึ้นมาจากดิน สูงประมาณคืบเศษ ๆ ดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตรงบริเวณส่วนยอดของลำต้น หลายสีสันงามตามได้แก่สีขาว สีเหลือง และสีเหลืองแซมม่วง ชาวบ้านเรียกชื่อต่างกันไปว่า "ดอกยูงทอง" บ้างหรือ "ดอกหงส์ทอง" บ้าง แต่ที่นิยมเรียกรวมกันก็ว่า "ดอกเข้าพรรษา" เพราะเห็นว่าดอกไม้ป่าเหล่านี้จะบานสะพรั่ง ให้เห็น อย่างดาษดื่นก็เฉพาะในเทศกาลเข้าพรรษานี่เอง
ประเพณีรับบัว
ประเพณีประเพณีรับบัวเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นทุกวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ มูลเหตุของการเกิดประเพณีรับบัวก็เนื่องมาจากว่า แต่เดิมในอำเภอบางพลีจะมีประชากรอาศัยอยู่ ๓ กลุ่มคือ คนไทย คนรามัญ และคนลาว ต่อมาคนไทยทั้ง ๓ กลุ่ม ได้ตกลงกันว่าจะช่วยกันถากถางพงหญ้าให้เป็นพื้นที่ทำไร่ทำนา จนกระทั่งคนไทยทั้ง ๓ กลุ่มได้ถางหญ้ามาถึง ๓ แยก ทุกคนตกลงกันว่าจะแยกไปคนละทาง โดยคนลาวไปทางคลองสลุด
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ จังหวัดอุทัยธานี “เทโวโรหณะ วิถีแห่งศรัทธาต่อศรัทธา" “ขึ้นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกำหนดเวียนมาบรรจบ ณ วัดสังกัตรัตนคีรี ประเพณีตักบาตรเทโว พระสงฆ์หลายร้อยรูปเดินลงจากยอดเขา ผ่านบันได ๔๔๙ ขั้นสู่เบื้องล่าง ที่ยังเนืองแน่นไปด้วยพุทธศาสนิกชนเรือนหมื่น ที่ยังคงยึดมั่นในวิถีปฏิบัติดั้งเดิม อันสะท้อนภาพแรงศรัทธาที่สุกสว่าง ภายในจิตใจของทุกคน” อุทัยธานี ชุมชนลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง เมืองเล็กๆ ที่อบอุ่น และมากด้วยไมตรีจิต ที่พร้อมมอบให้แก่คนต่างถิ่น และรอให้เข้ามาสัมผัส วัฒนธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น