วัฒนธรรมภาคอีสาน วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคอีสาน
ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น
ประวัติความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่อยู่ติดกับลำน้ำ โดยมีความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สืบกันมาหลายชั่วอายุคน แต่การเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐาน
ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม “ประเพณีบุญเบิกฟ้า ช่วงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวนาอีสานตอบแทนผืนแผ่นดินทำกิน โดยการใช้ปุ๋ยคอกทำจากมูลสัตว์กลับคืนสู่ผืนดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง อีกทั้งสายฝนแรกของปีก็กำลังจะมา ฟ้ากำลังจะร้อง เมื่อมาทิศใดก็จะทำนายความอุดมสมบูรณ์ในปีนั้นๆ ไปตามความเชื่อดั้งเดิม” ชาวนาใช้ประโยชน์จากพื้นดินมายาวนาน ตลอดระยะเวลาการเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินได้สูญสลายไป เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว เมล็ดข้าวที่เติบโตจนได้สีทองล้วนเป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบให้ ซึ่งชาวนาต่างรู้และสำนึกในบุญคุณของผืนแผ่นดิน ด้วยการคืนธาตุ คืนอาหารเป็นการตอบแทน อาการที่ว่าก็คือปุ๋ยนั่นเอง เดือน ๓ เดือนมหัศจรรย์ของชาวอีสาน นอกจากเป็นเดือนที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเดือนเริ่มต้นฤดูฝน ซึ่งจะมีเสียงฟ้าร้อง